(gallery) 2010127_66314.jpg

 

        งานปอยหลวงกั๋นเป๋นตี่ม่วนงันสันเล้าของจาวบ้าน และตุ๊เจ้า....บ้านวังสะแกง เวียงหนองล่อง

ตำนานเวียงหนองล่อง

      “เวียงหนองล่อง” เป็นชื่อของหมู่บ้านหนึ่งในกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลวังผาง
   กิ่งอำเภอเวียงหนองล่องจังหวัดลำพูน
     ลักษณะทางภูมิศาสตร์
      หมู่บ้าน “เวียงหนองล่อง”ตั้งอยู่บนที่ดอนน้ำไม่ท่วมขังลักษณะของชุมชนมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น
     ที่ตั้งของชุมชนเก่า แต่ปัจจุบันสิ่งก่อสร้าง ที่คาดว่าเป็นโบราณสถานเช่นเจดีย์กำแพงเมืองคูน้ำล้อมรอบเมือง
       ได้ชำรุดปรักหักพัง แต่ก็ยังพอมีร่องรอยให้เห็นและสามารถศึกษาได้อยู่บ้าง

         ข้อสันนิษฐานการก่อตั้ง “เวียงหนองล่อง”
         1. “เวียงหนองล่อง” ไม่น่าจะสร้างเมืองในสมัยพระนางเจ้าจามเทวีเสด็จขึ้นมาจากเมืองละโว้
           
เพื่อมาครองเมืองหริภุญไชย (พ.ศ 1200)
           (ตำนานมูลศาสนา : 46) เหตุผล เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมาจากเมืองละโว้ พระนางได้ประกาศ
             พระศาสนาโดยการ สร้างวัดในเส้นทางจากเมืองละโว้
            ถึงเมืองหริภุญไชย เช่น ที่วัดแก่งสร้อย ในบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก วัดดอยเกิ้ง
          อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ วัดดอยน้อย อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
           วัดบ้านเหล่าพระจ้าตาเขียว อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน วัดกู่ละมัก ตำบลต้นธง อำเภอเมือง
        จังหวัดลำพูน เป็นต้น
           นอกจากนั้น ในเมืองบริวารของแคว้นหริภุญไชย เช่น เวียงมโน
           (ตำบลหนองตอง    อำเภอ
หางดง จังหวัดเชียงใหม่)
          เวียงท่ากาน (อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่) ยังมีโบราณสถานที่สำรวจและศึกษาได้ ซึ่งเป็น
      โบราณสถานที่สร้างยุคสมัยทราวดีเหตุผลอีกประการหนึ่งในราวปีพ.ศ170(ตำนานมูลศาสนาอ้างพ.ศ1440)
     สมัยพระเจ้าอาทิตยราช ได้ก่อสร้างเจดีย์ทรงประสาทครอบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
      (พระธาตุหริภุญไชย)และพระมเหสีของพระองค์คือพระนางปทุมวดี ได้ทรงสร้างเจดีย์ปทุมวดีในบริเวณใกล้เคียง
         กับพระบรมธาตุ เป็นเจดีย์ แบบทวารวดีทรงสี่เหลี่ยม คล้ายกับเจดีย์ในวัดจามเทวี สำหรับโบราณสถาน 
          ใน “เวียงหนองล่อง” ที่พบเป็นเจดีย์ ทรงสี่เหลี่ยม  เรียกว่า“กู่ขาว”มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมโดยการ
          เรียงอิฐที่ส่วนโค้ง ของซุ้มประตูแบบพุกามมีลักษณะไ ม่เหมือนเจดีย์แบบทราวดีและ
        สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6เชียงใหม่ได้มาสำรวจและรายงานการสำรวจไว้ว่า
     “สิ่งที่สามารถกำหนดอายุสมัยได้อย่างหนึ่งคือ“กู่ขาว” เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
      และเทคนิคการก่อสร้างพบว่าในส่วนวงโค้งซุ้มประตูมีการเรียงอิฐแบบพุกามอายุสมัยของเจดีย์องค์นี้
      น่าจะมีอายุสมัยหลังจาก พม่ายึดครองล้านนาคือหลังพ.ศ.ที่22ลงมา(พ.ศ.2200)       และชุมชนโบราณแห่งนี้น่าจะมีอายุสมัยไล่เลี่ยกับเจดีย์องค์นี้”
                                           ข้อสรุปสุดท้าย
                หากตามที่สันนิษฐานไว้ว่า“เวียงหนองล่อง”ถูกสร้างขึ้นมาไว้เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านป้องกันการยกทัพมา
      โจมตี จากทัพพม่าเหมือน “เวียงป่าซาง” แล้วเวียงหนองล่อง”น่าจะถูกสร้างขึ้นราวๆไม่ก่อน
       พ.ศ.2200 – 2300(พ.ศ.2317พระยาวชิรปราการยกทัพขึ้นมาขับไล่พม่าจากเมืองเชียงใหม่)
      และจากรายงานการสำรวจตรวจสอบโบราณสถานที่สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่
       ได้ตรวจสอบการก่อสร้างส่วนโค้งของซุ้มประตู“กู่ขาว”ปรากฏว่ามีการเรียงอิฐแบบพุกามนั้นอายุสมัยของเจดีย์องค์นี้
      น่าจะมีอายุสมัยหลังจากที่พม่ายึดครองล้านนาคือหลังจากพ.ศ. 2200 แล้ว จากข้อสันนิษฐานจากเอกสารหลักฐาน
      ที่ทำการค้นคว้า และเรียบเรียงหากมีผู้รู้ที่จะเสริมส่วนที่ยังไม่ทราบ หรือมีข้อขัดแย้งใด ๆขอได้โปรดให้ความเห็นได้
      เพราะจะทำให้การค้นคว้า ประวัติของ “เวียงหนองล่อง” สมบูรณ์ยิ่งขึ้น     

 

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...